สหกรณ์ยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี
คดี นายศุภชัย ศรีศุภอักษร
อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น
ได้ถูกดำเนินคดีฉ้อโกงเงิน
15,000ล้านบาท
และจากการตรวจสอบพบว่าเงินจำนวนหนึ่งถูกโอนไปให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับวัดพระธรรมกาย กว่า1พันล้านบาท
ขณะที่ล่าสุดก็เป็นกรมสอบสวนคดีพิเศษที่ได้เปิดเผยข้อมูลว่านายศุภชัยยังสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐีและได้มีการเงินจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นไปยังสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐีเป็นจำนวนเงินกว่า
230 ล้านบาท
ข้อมูลของ “ไทยพับลิก้า”
เกี่ยวกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐีจากเอกสาร
รายงานประจำปี เว็บไซต์สหกรณ์ และการลงพื้นที่
พบความเกี่ยวพันระหว่างสหกรณ์กับวัดพระธรรมกาย
และพบรูปแบบการทำธุรกิจที่เป็นเอกลักษณ์ของสหกรณ์ มงคลเศรษฐีก็คือ “ปล่อยสินเชื่อเพื่อการกุศล”
สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี ก่อตั้งโดยนายศุภชัย ศรีศุภอักษร และคณะ รวม
44 คน ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2543
มีทรัพย์สินเริ่มต้นราว 50,000
บาท โดยรายงานประจำปี 2556 ระบุว่ามีทรัพย์สินรวม 2,448
ล้านบาท มีจำนวนสมาชิก 13,683 ราย มีทุนเรือนหุ้น 902
ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 104 ล้านบาท ทำให้จ่ายปันผลแก่สมาชิกในอัตรา 8%
เป็นจำนวนเงินกว่า 69 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนที่มีทรัพย์สินมากเป็นอันดับที่
2 รองจากสหกรณ์ คลองจั่น
สหกรณ์ฯ
มงคลเศรษฐีมีสาขาทั้งสิ้น 4 แห่ง ได้แก่ ร้อยเอ็ด นครราชสีมา ชัยภูมิ
และสำนักงานใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณวัดพระธรรมกาย
ส่วนผู้บริหารปัจจุบันมีนายสมเดช สุประดิษฐอาภรณ์ เป็นประธานกรรมการดำเนินการ
ต่อจากที่นายศุภชัยถูกปลดจากตำแหน่งประธานสหกรณ์ฯ คลองจั่น ตั้งแต่ปี 2556
โดยคำสั่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ ทำให้ถูกปลดจากทุกตำแหน่งที่เกี่ยวข้องในทุกๆ
สหกรณ์โดยอัตโนมัติ
สำหรับผู้บริหารสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี
มีนายศุภชัยเป็นผู้ก่อตั้งและชนะเลือกตั้งเข้ามาเป็นประธานบริหาร
คณะผู้บริหารส่วนใหญ่เป็นชุดเดียวกับที่บริหารสหกรณ์ฯ คลองจั่น
การบริหารจัดการสหกรณ์โดยเฉพาะนโยบายการลงทุนของทั้งสองสหกรณ์จึงมีลักษณะคล้ายคลึงกัน
อาทิ ลงทุนในบริษัทสหประกันชีวิต
นอกจากนี้การว่าจ้างผู้สอบบัญชีเอกชนเป็นคนเดียวกัน คือ นายแสงประทีป
นำจิตรไทย ซึ่งปัจจุบันถูกกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ลงโทษ พักใบอนุญาตสอบบัญชี 3 ปี
หลังจากนายศุภชัยถูกตั้งข้อกล่าวหายักยอกทรัพย์
จากรายงานประจำปี 2556 (สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2557) ด้านงบดุล
ส่วนของสินทรัพย์ 2,448
ล้านบาท แบ่งเป็น เงินฝากในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น 357 ล้านบาท
เงินลงทุนใน บริษัท สหประกันชีวิต จำกัด 200 ล้านบาท (สหกรณ์ฯ คลองจั่นลงทุน
300 ล้านบาท) ดอกเบี้ยค้างรับ 100 ล้านบาท
รวมทั้งเงินให้กู้ยืมระยะสั้นและยาวสะสมรวมกัน 1,664
ล้านบาท ในส่วนของหนี้สิน 1,343 ล้านบาท
พบว่าส่วนใหญ่เป็นเงินรับฝาก 1,320 ล้านบาท
โดยมาจากสมาชิกสหกรณ์ฝากไว้ 883 ล้านบาท รับฝากจากสหกรณ์อื่น 437 ล้านบาท
ด้านงบกำไรขาดทุน เนื่องจากสหกรณ์มีรายได้จาก 2 ทาง ได้แก่
ธุรกิจสินเชื่อทำรายได้จากดอกเบี้ยรับเงินให้กู้ 208 ล้านบาท
แต่เป็นดอกเบี้ยค้างรับถึง 88 ล้านบาท หรือ 42% กำไรสุทธิ 119.5 ล้านบาท
อีกหนึ่งธุรกิจคือจัดหาสินค้ามาจำหน่าย โดยสหกรณ์ลงทุนในร้านค้าสหกรณ์
และสถานีบริการนํ้ามันบางจาก บริเวณทางเข้าวัดพระธรรมกาย ติดถนนคลองหลวง
โดยสร้างตั้งแต่ปี 2548 เพื่ออำนวยความสะดวกให้อุปกรณ์ก่อสร้างในวัด
สามารถนำมาเติมน้ำมันได้ง่าย ซึ่งทั้งสองกิจการขาดทุนสุทธิไป 1.1 ล้านบาท
โดยสรุปแล้วสหกรณ์ฯ มงคลเศรษฐีมีกำไรสุทธิปี 2556 จำนวน 104 ล้านบาท
สำหรับรายละเอียดประเภทสินเชื่อพบว่า ในรอบปีบัญชี 2555 (สิ้นสุดวันที่ 31
มีนาคม 2556) สหกรณ์ปล่อยสินเชื่อทั้งหมด 1,774
ล้านบาท ซึ่งเป็นการสินเชื่อ 2 ประเภท คือ
1) เพื่อ "การลงทุนประกอบอาชีพ" 1,419
ล้านบาท
2) เพื่อ "การกุศล" 232 ล้านบาท ขณะที่ในรอบปีบัญชี 2556
(สิ้นสุดวันที่ "การลงทุนประกอบอาชีพ" 80 ล้านบาท และเพื่อ "การกุศล" 33
ล้านบาท)
อย่างไรก็ตาม
เมื่อสอบถามกับสมาชิกสหกรณ์รายหนึ่งที่เป็นอดีตศิษย์วัดพระธรรมกาย
ก็ได้รับคำอธิบายว่า สินเชื่อเพื่อการกุศลมีความหมายตรงตามตัว
โดยสหกรณ์ทำโครงการประสานกับวัดพระธรรมกาย
เพื่อให้สมาชิกสามารถทำบุญได้ตามความต้องการ โดยคิดดอกเบี้ย 12% ต่อปี
อย่างกรณีเมื่อปี 2551 ที่วัดจัดสร้างรูปหล่อทองคำหนัก 1 ตัน
ของพระมงคลเทพมุนี หรือหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ได้เคยมีการระดมทุนผ่านช่องทางนี้
โดยสมาชิกที่กู้จะได้รับคูปองแทนเงินสดสำหรับทำบุญ
โดยบนคูปองจะระบุชัดเจนว่าเพื่อโครงการอะไร
นอกเหนือจากการโอนเงินโดยการใช้อำนาจของนายศุภชัย จากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ไปยังสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี
ยังมีอีกหนึ่งประเด็นที่สังคมคลางแคลงใจคือการที่สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐีมีโครงการสินเชื่อเพื่อการกุศลหรือง่ายๆก็คือสมาชิกสามารถกู้เงินไปทำบุญกับวัดพระธรรมกายได้
โดยวันนี้ทีมข่าวได้ไปสอบถามเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวว่าเป็นความจริง
นี่ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็น
ที่ต้องตรวจสอบเพราะฉะนั้นต้องติดตามกันต่อไปว่าความจริงที่ถูกซุกซ่อนอยู่จะถูกเปิดโปงเมื่อไหร่อย่างไร
ขณะที่กรมสอบสวนคดีพิเศษแบ่งการทำงานในการตรวจสอบสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นออกเป็น
5 ชุด และพบว่าวัดธรรมกายมีส่วนเกี่ยวโยงกับการโอนเงินจากสหกรณ์
กรมสอบสวนคดีพิเศษ
พ.ต.ท.สมบูรณ์ สาระสิทธิ์ ผบ.สำนักคดีอาญาพิเศษ 3 พร้อมด้วย พ.ต.ต.วรณัน
ศรีล้ำ ผอ.ศูนย์บริหารคดีพิเศษ เรียกประชุมคณะทำงานคดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น
โดยมีนางกรรณิการ์ อัคคะพู รองประธานกรรมการดำเนินการ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น
ทั้งนี้ ดีเอสไอได้แบ่งการทำงานออกเป็น
5 ชุด
1. ติดตามร่องรอยทางการเงิน
2. ชุดแกะรอยบัญชี
3. ชุดกฎหมายตรวจสอบ พ.ร.บ.สหกรณ์และกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
4. ชุดติดตามทรัพย์สิน
5.
เลขานุการอำนวยการทางคดีทั้งหมด
ซึ่งจากการตรวจเช็ค 878 ฉบับ ที่จ่ายโดยนายศุภชัย ศรีศุภอักษร
อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น
สามารถแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม
1.
กลุ่มวัดธรรมกายและบุคคลที่เกี่ยวกับวัด
2. บริษัท เอส ดับบลิว โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
3. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนมงคลเศรษฐี
ที่มีความเชื่อมโยงกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น
4. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนรัฐประชา ที่มีนายวัฒน์ชานนท์ นวอิสรารักษ์
อดีตประธานสหกรณ์ยูเนี่ยนรัฐประชา และนายจิรเดช วรเพียรกุล อดีตผู้ช่วย รมว.คลัง
5. กลุ่มญาติธรรมและบุคคลในต่างจังหวัด
กลุ่มบุคคลที่กู้เงินสหกรณ์เครดิตมงคลเศรษฐีมาทำบุญให้วัดพระธรรมกาย
6. กลุ่มบุคคลที่มีค่าใช้จ่ายหรือมูลหนี้
เป็นกลุ่มที่มีมูลหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่น
ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น
จากการตรวจสอบด้านกฎหมายพบว่า
นายศุภชัย ผิด พ.ร.บ.สหกรณ์ และมาตรฐานทางบัญชี
ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ สามารถเอาเงินออกจากบัญชีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนได้
ซึ่งต้องดูการกระทำว่าส่อไปในทางทุจริตหรือไม่ โดยกลุ่มเป้าหมายคือกลุ่มที่
1-5 ส่วนกลุ่มที่ 6 นั้น เป็นกลุ่มที่มีมูลหนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย
และมีการเงินน้อย โดยขณะนี้ยังรอเอกสารทางธุรกรรมจากธนาคารให้ครบ
หลังจากนั้นจะเรียกผู้เกี่ยวข้องทุกคนมาสอบปากคำ
โดยอาทิตย์หน้าคาดว่าจะมีความชัดเจนมากขึ้น ส่วนกรณีจะมีการเรียกพระธัมมชโยเข้ามาสอบปากคำหรือไม่
ต้องรอเอกสารทุกอย่างให้ครบถ้วนก่อน
|