|
ตะลึง ! มุสลิมอ้างสิทธิ์ "สร้างห้องละหมาด" ใน รร.วัดเทพลีลา
ไม่ใช่แค่สวมฮิญาบใน รร.วัดเท่านั้น
เห็นธาตุแท้มุสลิมหรือยัง ได้คืบจะเอาศอก ได้ศอกจะเอาวา ขนาดมาอาศัยที่วัดยังกร่างขนาดนี้ ต่อไปก็คงขอสร้างสุเหร่าคู่โรงพระอุโบสถในเขตวัดด้วย จะได้เป็นศาสนสถานถาวรตามสิทธิและเสรีภาพในรัฐธรรมนูญ
รายงานผลการดำเนินการเกี่ยวกับโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก
ในการประชุมมหาเถรสมาคมครั้งที่ 2/2554 เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2554 เลขาธิการมหาเถรสมาคมเสนอว่า นายสมเกียรติ ศรลัมพ์ ประธานคณะอนุกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา สภาผู้แทนราษฎร ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ 5/2554 ลงวันที่ 4 มกราคม 2554 และ ที่ 237/2554 ลงวันที่ 20 มกราคม 2554 รายงานเกี่ยวกับกรณีวัดหนองจอก เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้มีลิขิตแจ้งว่า โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอกได้มีหนังสือหารือแนวทางปฏิบัติของนักเรียนและครู ซึ่งกลุ่มมุสลิมเพื่อสันติได้นำไปลงตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ไทยแลนด์ฟิกส์ และลงในเว็บไซต์ลงข่าวทั่วไป ทำให้วัดหนองจอกเกิดความเสียหายเป็นอย่างยิ่ง โดยแจ้งว่า กลุ่มมุสลิมเพื่อสันติลงสื่อบิดเบือนข้อเท็จจริง ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอกบริหารงานจัดการไม่เด็ดขาด ทำให้แตกความสามัคคี ครูพุทธกับครูมุสลิมในโรงเรียนแบ่งเป็นฝักฝ่าย ไม่ทำการสอนนักเรียนเหมือนเช่นเดิม แบ่งแยกความคิดคน 2 ศาสนา โดยมีทนายความ 2 คน กับนักเรียนหญิง 2 คน คลุมผ้าฮิญาบ อ้างว่ากฎหมายให้สิทธิมนุษยชนแก่ทุกคน เจ้าอาวาสวัดหนองจอก จึงได้ออกคำสั่งโดยอาศัยอำนาจพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ เพื่อให้ชุมชน บ้าน วัด โรงเรียน เกิดความสามัคคีสงบสุข และขอให้เรียกผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอกและทนายความกลุ่มมุสลิมเพื่อสันติชี้แจงเกี่ยวกับข้อกฎหมายทางพระพุทธศาสนาว่า ที่ธรณีสงฆ์ที่กระทรวงศึกษาธิการเช่าซึ่งเป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดหนองจอกเพื่อสร้างโรงเรียน กับกฎหมายการแต่งกายเชิงสัญลักษณ์ทางศาสนา การทำห้องละหมาด เป็นต้น ดังนั้น ในคราวประชุมคณะอนุกรรมาธิการกิจการพระพุทธศาสนา ครั้งที่ 57/2553 เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2553 ได้มีมติให้คณะอนุกรรมาธิการฯ ลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงและสอบถามผู้เกี่ยวข้อง ผลการตรวจสอบมีดังนี้
ต่อมา วันที่ 29 ตุลาคม 2553 กลุ่มมุสลิมเพื่อสันติ ได้ยื่นหนังสือขอให้ นักเรียนหญิงแต่งกายตามหลักศาสนาอิสลามอีกครั้ง โดยอ้างหลักศาสนาอิสลาม อ้างสิทธิตามรัฐธรรมนูญ ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งโรงเรียนได้รับเรื่องไว้เพื่อดำเนินการตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องและตามอำนาจหน้าที่
แต่วันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 นักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งเรียนที่โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอกตั้งแต่ชั้นมัธยม-ศึกษา ปีที่ 1 จำนวน 2 คน ได้แต่งกายตามหลักศาสนาอิสลาม โดยมีสัญลักษณ์เด่นชัดคือ การคลุมผ้าฮิญาบ ซึ่งโรงเรียนได้ขอให้นักเรียนแต่งกายปกติตามระเบียบของโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอกไปก่อน ระหว่างรอการพิจารณาดำเนินการ และโรงเรียนได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ลงวันที่ 5 พฤศจิกายน 2553 หารือไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม-ศึกษา เขต 2 (สพม. 2) เพื่อขอทราบแนวปฏิบัติในระหว่างรอการตอบข้อหารือ/แนวปฏิบัติ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 นั้น
โรงเรียนใช้วิธีเจรจาและให้เกียรติผู้ปกครองนักเรียน กลุ่มมุสลิมเพื่อสันติและนักเรียน เพื่อบริหารความขัดแย้งดังกล่าว โดยผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอกได้เปรียบเทียบให้ผู้ร้องขอทราบว่า ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก สมัยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเทพศิรินทร์ฯ ปทุมธานี (ท.ศ.ป.) เมื่อปี 2550-2552 ซึ่งความขัดแย้งในการบริหารงานลำบาก แต่อนุญาตให้ใช้ภาพถ่ายพระพุทธรูปแทนได้ หรือการไม่อนุญาตให้นำพระบรมรูป (รูปปั้น) รัชกาลที่ 6 มาตั้งเพื่อประกอบพิธีในวันที่เกี่ยวกับลูกเสือ เช่น วันมหาธีรราชเจ้า เป็นต้น โรงเรียนก็ไม่นำมาตั้ง แต่ก็อนุญาตให้ใช้พระบรมฉายาลักษณ์ของรัชกาลที่ 6 มาทำพิธีได้ จึงทำให้สามารถบริหารโรงเรียนและอยู่ร่วมกันกับมัสยิด มีการประชาสัมพันธ์ชุมชนให้เข้าใจและมีความสุข ซึ่งการเปรียบเทียบกรณีโรงเรียนเทพศิรินทร์ฯ ปทุมธานี ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอกได้ชี้แจงทำความเข้าใจกับครูที่นับถือศาสนา- อิสลามโรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก จำนวน 10 คน ในวันเข้าค่ายคุณธรรมที่มัสยิด อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี และนักเรียนหญิง 11 คน ที่ผู้ปกครองยื่นขอแล้ว เมื่อประมาณเดือนกรกฎาคม 2553
และในกรณีที่เกิดขึ้น นายวิชัย ธรรมเจริญ ซึ่งเป็นอนุกรรมาธิการฯ ได้นำเสนอข้อมูลเพิ่มเติมว่า ประมาณปี 2540 เศษ สมัยรับราชการอยู่ที่กรมการศาสนา ได้มีหนังสือจากเขตบางกะปิ โดยอ้างหนังสือร้องเรียนของ นายสามารถ มะลูลีม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กรุงเทพมหานคร ในสมัยนั้น ได้อ้างนโยบายกระทรวงศึกษาธิการว่า โรงเรียนใดมีนักเรียนผู้นับถือศาสนาอิสลาม จะต้องจัดห้องละหมาดให้ด้วย แต่เจ้าอาวาสวัดเทพลีลาไม่อนุญาต เพราะโรงเรียนตั้งอยู่ในวัดทางพระพุทธศาสนา ดังนั้น จึงขอให้กรมการศาสนา กระทรวง-ศึกษาธิการ ดำเนินการขอให้วัดปฏิบัติตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ แต่กรมการศาสนาพิจารณาเห็นว่า กรมการศาสนาไม่มีอำนาจที่จะให้ดำเนินการใดๆ เพราะวัดเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนวัดและเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย การจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ดำเนินการใดๆ ในเขตวัด หรือในที่ธรณีสงฆ์ของวัด เป็นอำนาจของเจ้าอาวาส ซึ่งต้องปฏิบัติไปตามพระธรรมวินัย กฎหมาย และจารีตประเพณี ที่เคยปฏิบัติมา จึงได้มีหนังสือแจ้งไปยังเขตบางกะปิ และเรื่องก็เงียบไป
ในการนี้ คณะอนุกรรมาธิการฯ จึงขอให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ นำรายงานผลกรณีดังกล่าวนำกราบถวายกรรมการมหาเถรสมาคมในการประชุมได้รับทราบ โดยขอเสนอข้อควรปฏิบัติดังนี้
ข่าว
: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ |
www.alittlebuddha.com วัดไทย ลาสเวกัส 2920 McLeod Dr. Las Vegas Nevada 89121 USA (702) 384-2264 |